ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

จักรพรรดิพอลที่ 1 แห่งรัสเซีย

จักรพรรดิพอลล์ที่ 1 แห่งรัสเซีย (รัสเซีย: ?????? I ?????????; Pavel Petrovich; อังกฤษ: Paul I of Russia) (พระราชสมภพ: 1 ตุลาคม (นับตามแบบเก่า: 20 กันยายน) พ.ศ. 2297 - 23 มีนาคม (นับตามแบบเก่า: 11 มีนาคม) พ.ศ. 2344) ทรงดำรงพระราชอิสริยยศเป็นจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิรัสเซีย ระหว่างปี พ.ศ. 2339 - พ.ศ. 2344 (5 ปี) สวรรคตโดยถูกปลงประชนม์ขณะครองราชย์ พระโอรสของพระองค์ จักรพรรดิอเล็กซานเดอร์ที่ 1 จึงขึ้นสืบราชสมบัติต่อจากพระองค์

พระองค์พระราชสมภพ ณ พระตำหนักของพระอัยยิกา จักรพรรดินีนาถเอลิซาเบธ ในเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก เป็นพระราชโอรสในจักรพรรดิปีเตอร์ที่ 3 กับจักรพรรดินีแคทเธอรีนที่ 2 ในความทรงจำช่วงวัยเยาว์ของพระองค์ พระราชมารดาของพระองค์ทรงบ่งชี้เป็นนัยมากมายว่าพระราชบิดาของพระองค์ไม่ใช่ จักรพรรดิปีเตอร์ที่ 3 แต่เป็นชู้รักของพระมารดานั้นคือ เชิร์จ ซัลตีคอฟ ขุนนางในราชสำนัก ส่วนฝ่ายที่สนับสนุนแคทเธอรีนอ้างว่าจักรพรรดิปีเตอร์ทรงเป็นหมันโดยไม่มีหลักฐานใดอ้างอิงถึง อีกทั้งยังอ้างว่าพระองค์ไม่สามารถมีความสัมพันธ์ทางเพศกับแคทเธอรีนตั้งแต่หมั้นกันจนกระทั่งปีเตอร์เข้ารับการผ่าตัด จึงทำให้พระองค์จะไม่สามารถให้กำเนิดรัชทายาทได้ อย่างไรก็ตามเรื่องนี้ฝ่ายผู้ที่ต่อต้านพอลล์ได้ใช้โจมตีพระองค์ ซึ่งสามารถทำให้พระองค์พ้นจากความเป็นรัชทายาทได้อย่างง่ายดาย เนื่องจากข้อสงสัยในสายเลือดกษัตริย์และสิทธิอันชอบธรรมในการขึ้นเสวยราชย์ของพระองค์ แคทเธอรีนจึงตอบโต้โดยใช้ข้ออ้างที่คลุมเคลือว่าสรีระของพอลล์ละม้ายคล้ายคลึงกับปีเตอร์ แม้กระนั้นก็ตามยังมีข้อสงสัยถึงข้ออ้างเกี่ยวกับบุตรนอกสมรสตามมา

ในช่วงครั้งยังเป็นทารกพอลล์ได้รับความเอาใจใส่โดยพระราชมารดาโดยพระอัยยิกาเอลิซาเบธ คอยให้ความช่วยเหลือ ซึ่งถูกโรคร้ายลงโทษในภายหลัง ในขณะที่ยังเป็นเด็กพระองค์ถูกเล่าขานว่าทรงมีไหวพริบที่ดีและบุคลิกภาพที่เยี่ยมยอด ต่อมาพระนาสิก (จมูก) ของพระองค์หัก ทำให้ใบหน้าของพระองค์อัปลักษณ์ ที่ต่อมาพระองค์อ้างว่าเป็นผลมาจากโรคไข้รากสาดใหญ่ที่พระองค์ประชวรอย่างทรมานใน พ.ศ. 2314 ซึ่งอาจจะเป็นสาเหตุให้พระราชมารดาทรงเกลียดพระองค์ อีกทั้งยังมีผู้ที่หมายปองจะกำจัดพระองค์ และในช่วงวัยเยาว์นี้เองที่พระองค์ต้องทนอยู่กับความกลัวที่ว่าการลอบปลงพระชนม์จะมาถึงพระองค์ ถึงแม่แคทเธอรีนจะเห็นว่าพระองค์อ่อนแอไม่เหมาะจะขึ้นครองราชย์ แต่ด้วยความที่แคทเธอรีนเป็นผู้ซึ่งมีจิตใจรักเด็กอยู่แล้ว จึงปฏิบัติต่อพอลล์อย่างเมตตา พระองค์ถูกมองว่าเหลวไหลในงานราชการต่าง ๆ และตั้งข้อกังขาถึงอนาคตพระจักรพรรดิแห่งรัสเซีย ต่อมาเมื่อพระชนมายุมากขึ้นพระราชมารดาก็ได้นำภาระและความลำบากมาสู่พระองค์เมื่อพระราชมารดาจัดการอภิเษกสมรสครั้งแรกของพระองค์กับ วิลเฮล์มมิน่า ลุยซ่า ธิดาใน ลุดวิกที่ 4 แลนด์เกรฟแห่งเฮสส์-ดาร์มสตาดต์ ซึ่งต่อมาเปลี่ยนพระนามเป็น เจ้าหญิงนาตาเลีย อเล็กเซเยฟน่าแห่งรัสเซีย ซึ่งต่อมาทรงสิ้นพระชนม์ก่อนจะพระราชสวามีจะได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัตื และพระองค์อภิเษกสมรสอีกครั้งกับ เจ้าหญิงโซฟี โดโรเธียแห่งเวือร์ทเท็มแบร์ก ผู้ซึ่งเป็นพระจักรพรรดินีมเหสีในภายหลัง

พระองค์ขึ้นสืบราชสมบัติต่อจากพระราชมาดา จากการที่พระราชมารดาเกิดอาการโรคหลอดเลือดสมอง ในวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2339 และสวรรคตบนแท่นบรรทมอย่างสงบหลังจากฟื้นสติขึ้นมาได้ไม่นาน การกระทำแรกของพระองค์ในการเป็นพระจักรพรรดิคือการสั่งให้ไต่สวนเรื่องที่เกิดขึ้น เมื่อทราบแน่ชัดแล้วว่าพระราชมารดาสวรรคตจริงจึงได้ออกคำสั่งให้ทำลายพินัยกรรมของพระมารดาทิ้ง ซึ่งเป็นที่กล่าวลือกันว่าพินัยกรรมฉบับนี้เขียนขึ้นจากความปรารถนาที่แคทเธอรีนต้องการจะกีดกันพระองค์จากราชบัลลังก์รัสเซียและยกให้อเล็กซานเดอร์ พระนัดดาพระองค์โตแทน ซึ่งจากความกลัวนี้เองที่น่าจะทำให้พระองค์ประกาศพระราชบัญญัติว่าด้วยการสืบสันตติวงศ์รัสเซียปี พ.ศ. 2340 หรือเป็นที่รู้จักในนาม "กฎหมายพอลล์ไลน์" เพื่อเป็นการจำกัดหลักในการสรรหารัชทายาทขึ้นสืบราชบัลลังก์ในราชวงศ์โรมานอฟ ซึ่งก็ไม่ได้เปลี่ยนแปลงแก้ไขโดยรัชทายาทของพระองค์เลย

ช่วงปีแรกในรัชกาลของพระองค์ พระองค์ได้ปรับเปลี่ยนโยบายของพระราชมารดามากมายอย่างตรงกันข้ามและสุดโต่ง ถึงแม้พระองค์จะตั้งข้อหาอาญาต่อพวกลัทธิรุนแรง (Jacobinism) และเนรเทศผู้คนเพียงเพราะสวมใสเสื้อผ้าตามแบบชาวปารีสหรือผู้คนที่อ่านหนังสือภาษาฝรั่งเศส และประกาศอภัยโทษแก่ อเล็กซานเดอร์ ราดิชเชฟ ผู้ซึ่งเป็นที่รู้จักทั่วไปในฐานะนักวิจารณ์ที่ชอบวิจารณ์การทำงานของแคทเธอรีน จนถูกจับและเนรเทศไปยังไซบีเรีย ทางด้านการทหาร ขณะกองกำลังทหารกลำงเข้าจู่โจมเปอร์เซีย ซึ่งเป็นพระราชประสงค์ชิ้นสุดท้ายของพระราชมารดาเกี่ยวกับสงครามรัสเซีย-เปอร์เซีย ก็ถูกเรียกกลับมายังเมืองหลวงภายในหนึ่งเดือนของการเสด็จขึ้นครองราชย์ของพระองค์ พระศพของพระราชบิดาปีเตอร์ก็ถูกขุดขึ้นมาเพื่อทำพิธีฝังพระศพใหม่อย่างเอิกเกริก ณ สุสานหลวงใน โบสถ์ปีเตอร์แอนด์พอลล์ เพื่อเป็นการกลบข่าวลือเรื่องฐานะบุตรนอกสมรสของพระองค์ นอกจจกานี้พอลล์ต้องรับผิดชอบการเดินตรวจแถวสวนสนามซึ่งเป็นพระราชกรณียกิจที่ตกทอดมาจากจักรพรรดิปีเตอร์มหาราช จารึกบนอนุสาวรีย์ปฐมจักรพรรดิแห่งรัสเซียถูกสถาปนาขึ้นในช่วงรัชกาลของพอลล์ใกล้ ๆ กลับพระตำหนักเซนต์ไมเคิลโดยเป็นภาษารัสเซีย แปลในภาษาอังกฤษว่า "To the Great-Grandfather from the Great-Grandson" ("แด่พระบรมปัยยิกาเจ้าจากพระบรมปนัดดา") ซึ่งมีความหมายเป็นนัย ๆ แต่ที่ปรากฏเด่นชัดคือคำเยาะเย้ยในภาษาละตินที่ว่า "PETRO PRIMO CATHERINA SECUNDA" ซึ่งเป็นคำจารึกอุทิศที่รู้จักไปทั่วสลักใต้อนุสาวรีย์ชายขี่ม้าสีเงิน ซึ่งเป็นอนุสาวรีย์ที่โด่งดังที่สุดของปีเตอร์มหาราชในเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก

จักรพรรดิพอลล์ที่ 1 และราชินีมาเรีย เฟโอโดรอฟนาแห่งรัสเซีย มีพระราชโอรสและพระราชธิดาทั้งสิ้น 10 พระองค์ ดังนี้

ความเป็นอสระในกานดำเนินนโยบายด้านต่างประเทศของพระองค์ฉุดรั้งให้จักรวรรดิรัสเซียต้องเข้าสู่สงครามอีกครั้ง ในสงครามสัมพันธมิตรครั้งที่สองเพื่อต่อต้านฝรั่งเศสในปี พ.ศ. 2341 พระองค์ได้ส่งนายพลซูวารอฟไปปะทะกับนโปเลียนที่สวิตเซอร์แลนด์ และส่งนายพลยูชาคอฟไปช่วยปฏิบัติการของเนลสันในแถบเมดิเตอร์เรเนียน หลังจากต้องอดทนผจญกับความยากลำบากในการรบจนได้รับชัยชนะจากกองกำลังที่ส่งไปทั้งสอง พระองค์ก็ทรงเปลี่ยนพระทัยกะทันหันโดยออกคำสั่งให้เหล่าทัพต่าง ๆ มุ่งทัพเข้าโจมตีสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์ในปี พ.ศ. 2344 ซึ่งก่อนหน้านี้พระองค์ทรงทะเลาะกับฝรั่งเศสต่อมาก็กับอังกฤษหลังจากที่อังกฤษเข้ายึดมอลตาได้ อีกทั้งยังทรงละเลยกับแผนที่จะเข้าร่วมทำสงครามด้วยกันกับนาวิกโยธินฝรั่งเศส และความโง่เขลาของพระองค์อีกครั้งหนึ่งคือการส่งกองทหารม้าคอสเซคไปโจมตีกองทัพอังกฤษที่อินเดีย

ลางสังหรณ์ถึงการถูกลอบปลงพระชนม์ของพระองค์มีมานานแล้ว พระองค์ทรงกำจัดขุนนางที่มีท่าที่เป็นปฏิปักษ์กับพระองค์ และอุปการะชุบเลี้ยงอีกทั้งยังมอบเบี้ยรางวัลแกขุนนางที่พระองค์ทรงไว้วางพระทัย นอกจากนี้พระองค์ยังทรงค้นพบถึงการกระทำเพทุบายและฉ้อราษฎบังหลวงร้ายแรงในท้องพระคลังรัสเซียด้วย อีกทั้งพระองค์ได้ทรงล้มเลิกกฎหมายของพระนางเจ้าแคทเธอรีนที่ว่าด้วยการสำเร็จโทษทางร่างกายโดยอิสระและทรงปรับเปลี่ยนใหม่อย่างสิ้นเชิงซึ่งเอื้อความชอบธรรมให้แกชนชั้นล่างมากขึ้น และทรงปรับเปลี่ยนวิธีการทำกสิกรรมของชาวรัสเซียให้ดีขึ้น ซึ่งถูกมองว่าเป็นนโยบายที่กลั่นแกล้งชนชั้นขุนนางและเป็นการชักชวนให้ผู้ซึ่งเป็นปฏิปักษ์ต่อพระองค์ล้มเลิกแผนการโค่นล้มพระองค์

กลุ่มผู้สมรู้ร่วมคิดการลอบปลงพระชนม์ได้จัดตั้งขึ้นหนึ่งเดือนก่อนการลงมือ โดยประกอบด้วย เคาท์ปิออตร์ อเล็กเซเยวิช ปาห์เลน, นิคิตา เปโตรวิช ปานิน, และพลเรือเอกโจเซ เด ริบาส โดยเป็นพลเรือลูกครึ่งสเปน-เนเปิลส์ ซึ่งการเสียชีวิตของเขาทำให้การลอบปลงชนม์ล่าช้าออกไป โดยในคืนวันที่ 23 มีนาคม (นับตามแบบเก่า: 11 มีนาคม) พ.ศ. 2344 พระจักรพรรดิพอลล์ถูกปลงพระชนม์บนแท่นพระบรรทมในห้องบรรทมใหม่เอี่ยม ณ พระตำหนักในพระราชวังเซนต์ไมเคิล โดยความร่วมมือจากการที่นายพลเบนนิกเซนออกคำสั่งยกเลิกประจำการบริเวณพระตำหนักของเหล่าเจ้าหน้าที่รักษาพระองค์ ผู้ซึ่งเป็นชาวฮันโนเวอร์ในราชสำนักรัสเซีย อีกทั้งจากความร่วมมือของนายพลยาชวิลชาวจอร์เจีย โดยพวกเขาจู่โจมเข้าไปในห้องพระบรรทม ซึ่งก่อนหน้าที่ยังทรงพระกระยาหารค่ำด้วยกันกับเหล่านายพล เหล่าผู้ก่อกบฏพบตัวพระองค์ซ่อนอยู่ในผ้าบริเวณมุมห้อง จากนั้นลากตัวพระองค์ออกมาและบังคับให้ไปยังโต๊ะทรงงาน จากนั้นบังคับให้ทรงลงพระนามในเอกสารสละราชสมบัติ แต่พระองค์ทรงขัดขืนแต่ต่อสู้ ผู้ร่วมก่อกบฏคนหนึ่งจึงแทงพระองค์ด้วยดาบ พระองค์ทรงถึงหายใจไม่ออกและทรงกล่าวเหยียดหยามต่อความตาย ราชบัลลังก์ตกมาเป็นของพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ แกรนด์ดยุคอเล็กซานเดอร์ที่ 1 โดยนายพลนิโคลัส ซูบอฟ หนึ่งในผู้ร่วมก่อกบฏได้กล่าวแนะนำให้พระองค์ขึ้นสืบราชบัลลังก์ โดยกล่าวกับอเล็กซานเดอร์ว่า


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เป็นต่อ ขั้นเทพ เป็นข่าว ซีรีส์ คณะนิเทศศาสตร์ ซิทคอม ยีนเด่น (ละครโทรทัศน์) เฮง เฮง เฮง เป็นต่อ นักเขียนบท เจ้าชายฌัก รัชทายาทแห่งโมนาโก กาญจน์เกล้า ด้วยเศียรเกล้า วอลเลย์บอลชายทีมชาติไทย ปิยะรัฐ ตุ้นทัพไทย อรรถพร ธีมากร ไมเคิล คลาร์ก ดันแคน เจ้าพงศ์แก้ว ณ ลำพูน ระบบทศนิยมดิวอี้ ตึกนิวยอร์กเวิลด์ เทพมารสะท้านภพ ไทเก็ก หมัดทะลุฟ้า สุภาพบุรุษตระกูลหยาง ตำนานเดชนางพญางูขาว เจิ้ง เจียอิ่ง อู๋ จัวซี กู่ เทียนเล่อ มังกรคู่สู้สิบทิศ แม่พระปฏิสนธินิรมล เจมส์ ฟิกก์ ธัญยกันต์ ธนกิตติ์ธนานนท์ โกะโร อินะงะกิ ฉัตรชัย ดุริยประณีต ธงไชย แมคอินไตย์ คิม เบซิงเงอร์ จิม มอร์ริสัน เดวิด คาร์ราดีน บ๊อบ อารัม สมเด็จพระราชินีนาถคริสตินาแห่งสวีเดน พรรคประชาชนบรูไน แอมโบรสแห่งมิลาน รังสี ทัศนพยัคฆ์ คิเคโร เจ้าหญิงคาทารีนา-อะมาเลีย เจ้าหญิงแห่งออเรนจ์ บุษกร ตันติภนา จอห์น เทอร์รี เฟอร์นันโด วาร์กัส ช่วง มูลพินิจ พิศมัย วิไลศักดิ์ พระมเหสีจองซอง การโจมตีท่าเรือเพิร์ล กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น Grammy Awards Allmusic ซิงเกิล นักธุรกิจ แร็ปเปอร์ เลสลี นีลเซน มะสึโอะ บะโช นันทนัช โล่ห์สุวรรณ ผู้รักษาประตู สจวร์ต เทย์เลอร์ แดเนียล เฮนนีย์ แอนนา นิโคล สมิธ หลวงพ่อเกษม เขมโก ลี กวน ยู คริส โจนนาว ซิลเวอร์แชร์ เค.แมกซ์ ซินบี แตวุง เค-วัน นักมวยไทย อักษรฮันกุล นักบุญเดนิส ออสการ์ ชินด์เลอร์ เช เกบารา สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 12 สมเด็จพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งยูโกสลาเวีย หทัยภัทร สมรรถวิทยาเวช พชร ธรรมมล คนึงพิมพ์ พรมกร แบรนดอน เราธ์ แผ่นดินถล่ม สิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในโลก อนุสาวรีย์วอชิงตัน อำเภอเมืองสุพรรณบุรี ปริ๊นซ์ ออฟ เทนนิส แม่พระแห่งลูกประคำ เลย์ เซบัสเตียน โกอาเตส ตะวัน จารุจินดา แอรอน แอชมอร์ ชอว์น แอชมอร์ ชิลเบร์ตู ซิลวา ภาคภูมิ แจ้งโพธิ์นาค ซามี ฮูเปีย โทนี แบรกซ์ตัน ไซมอน โคเวลล์ วลาดิมีร์ ปูติน พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 1 แห่งเดนมาร์ก อาคารรัฐสภาไทย สาธารณรัฐอินโดนีเซีย

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
234
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23406